วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทความแนวโน้มราคาทองคำ วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2556

บทความแนวโน้มราคาทองคำ วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2556

สรุปภาพรวมของตลาดสัปดาห์ที่แล้ว

จบสัปดาห์ด้วยตัวเลข Chicago PMI ของสหรัฐฯซึ่งได้ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก (58.7 vsfc 50.0 vsl 49.0) และถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2012 สมทบด้วย U Mich Sent (F) ซึ่งก็มีการปรับจากการประกาศครั้งที่แล้วที่ 83.7 เป็น 84.5 ส่งให้ดัชนีหุ้นสหรัฐฯดีดขึ้นทันที ในขณะที่ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้นโดยรวมและก็ส่งผลให้ราคาทองคำรูดลงอีกระลอกก่อนที่จะพบแนวรับแถวบริเวณเส้นความเคลื่อนไหวเฉลี่ย 200periods ในกราฟรายชั่วโมงและ Trendline support ในกราฟรายชั่วโมงเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงดึกซึ่งตลาดยุโรปได้ปิดทำการแล้วดัชนีหุ้นสหรัฐฯก็กลับรูดลงอย่างค่อนข้างรุนแรงโดยปราศจากข่าวกระตุ้นที่ชัดเจนนอกจากแรงเทขายจากปัจจัยทางเทคนิค (ต้องดูภาพทางเทคนิคเป็นด้วย) กับเหตุผลง่ายๆซึ่งใครๆก็อาจกล่าวอ้างได้ว่าเนื่องจากกระแสที่ Fed อาจมีการปรับลดขนาดของ QE มีเพิ่มขึ้น ส่วนทองคำก็ดันหลุดแนวรับดังกล่าวเบื้องต้นลงมาแบบเฉยๆแต่เงียบๆซึ่งทำให้ภาพทางเทคนิคดูไม่ค่อยดี

สิ่งที่น่าสนใจและจับตาดูเป็นพิเศษในสัปดาห์นี้

มีมากมายเหลือเกินที่ต้องจับตาดู เริ่มกันตั้งแต่วันจันทร์เลยคือ ตัวเลข ISMประจำเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯเวลา 21.00น. ซึ่งถูกคาดว่าจะคงที่ที่ 50.7 แต่เนื่องด้วย CHI PMI ซึ่งถูกประกาศไปก่อนหน้าได้ออกมาดีมากจึงถือว่าน่าติดตามพอสมควร วันอังคารเริ่มกันแต่เช้าด้วยผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียเวลา 11.30น.ซึ่งถูกคาดว่าจะคงที่ที่ 2.75% ความเป็นไปได้ที่จะคงที่ก็มีสูงครับ ส่วนในตลาดยุโรปที่ดูจะน่าสนใจบ้างก็คงเป็นตัวเลข PMI Construction ของอังกฤษเวลา 15.30น.ซึ่งก็คงมีผลโดยตรงต่อค่าเงินปอนด์ ซึ่งมีภาพทางเทคนิคที่สวยงามพอสมควร (Double bottom) ซึ่งอาจสังเกตุได้ชัดที่กราฟรายสี่ชั่วโมง ในตลาดอเมริกาจะมีตัวเลขเบาๆซึ่งหลังๆไม่ค่อยจะมีผลต่อตลาดเท่าไหร่นักคือ ตัวเลขยอดดุลการค้าในสหรัฐฯเวลา19.30น. วันพุธยังคงเริ่มกันแต่เช้าด้วยตัวเลข GDP ของออสเตรเลียประจำไตรมาสแรกเวลา 08.30น. ต่อด้วยตัวเลข PMI ภาค Service ของจีน (HSBC Services PMI,May) เวลา 08.45น. ในตลาดยุโรป Highlight จะอยู่ที่ตัวเลข GDP (P) ประจำไตรมาสแรกของยูโรโซน เวลา 16.00น. ในตลาดอเมริกา Main focus จะไปอยู่ที่ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ (ADP) เวลา 19.15น. ซึ่งอาจบ่งชี้แนวโน้มของตัวเลขใหญ่ในวันศุกร์ได้ ซึ่งถูกคาดว่าจะดีขึ้นมากพอสมควรหลังจากเดือนก่อนหน้าซึ่งได้ออกมาอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ค่อนข้างเยอะ จบด้วยช่วงดึกมาก (01.00น.) คือ Fed releases beige book วันพฤหัสบดีเริ่มกันที่ตลาดยุโรปโดย Highlight จะไปอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษเวลา 18.00น. ซึ่งถูกคาดว่า BOE จะคงนโยบายทางการเงินทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% และ Asset purchase target ที่ 375พันล้านปอนด์ ซึ่งผู้เขียนก็คิดว่าเป็นไปได้สูงครับ ต่อด้วยผลการประชุมธนาคารกลางยูโรโซน (ECB) เวลา 18.45น. ซึ่งก็ถูกคาดว่า ECB จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% หลังการปรับลดในครั้งที่แล้ว (02/05/13) ในตลาดอเมริกาก็จะมีการประกาศตัวเลข Jobless claims ซึ่งครั้งนี้ก็คงถือว่าสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นการประกาศครั้งสุดท้ายก่อนหน้าการประกาศตัวเลขการจ้างงานใหญ่ของสหรัฐฯในวันศุกร์ซึ่งถูกคาดว่าจะคงที่ที่ 345K ในเวลา 19.30น. จบด้วยการประกาศตัวเลข Ivey PMI ของแคนาดาเวลา 21.00น. ซึ่งก็คงมีผลโดยตรงต่อค่าเงินแคนาดา วันศุกร์อุ่นเครื่องกันเบาๆที่ตลาดยุโรปโดยจะมีการประกาศตัวเลขดุลการค้าของอังกฤษเวลา 15.30น. และเยอรมัน Industrial production เวลา 17.00น. ต่อด้วยตลาดอเมริกาซึ่งถือเป็น  Major focus สำหรับสัปดาห์นี้คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯและอัตราการว่างงานเวลา 19.30น. ซึ่งถูกคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยมีอัตราการว่างงานคงที่ที่ 7.5% อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานของแคนาดาด้วยในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งก็คงส่งผลโดยตรงต่อค่าเงินแคนาดาครับและถูกคาดว่าจะดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าซะด้วย

สิ่งที่น่าสนใจและจับตาดูวันนี้

ตามตารางข้างล่างนี้ ซึ่งตัวเลขทางจีนยังคงดูอ่อนแอและได้ส่งผลให้ค่าเงิน USD.JPY ปรับตัวลงอีกเข้าใกล้ระดับจิตวิทยา 100.00 ซึ่งก็พลอยส่งผลบวกต่อค่าเงินอื่นๆ Against USD ด้วยรวมไปถึงทองคำซึ่งก็ได้รับอนิสงฆ์ไปด้วย ส่วนในตลาดยุโรปตัวเลขต่างๆล้วนออกมาดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อยซึ่งก็ส่งผลบวกเพิ่มเติมต่อค่าเงิน EURO และค่าเงินปอนด์ตามลำดับ ส่วน Major focus ของวันนี้ก็คงหนีไม่พ้นตัวเลข ISM ของสหรัฐฯครับซึ่งถูกคาดว่าจะคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (50.7 vsl 50.7)

แนวโน้มและกลยุทธ์ประจำวันนี้

ทองคำได้รูดลงสู่แนวรับสำคัญแถวบริเวณเส้นความเคลื่อนไหวเฉลี่ย 200periods ในกราฟรายชั่วโมง และ Trendline support ในกราฟเดียวกัน เนื่องด้วยผลของตัวเลข CHI PMI ดังที่ได้รายงานไปให้ทราบแล้ว แต่สิ่งที่น่าแปลกใจเล็กๆก็คือ ราคาทองคำกลับรูดลงมาเฉยๆหลังสามารถยืนอยู่เหนือได้นานพอสมควรและเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดยุโรปปิดทำการไปแล้วเหมือนมีอะไรสักอย่างต้องการจะกระตุ้น Stop loss orders ใต้บริเวณดังกล่าวเนื่องจากไม่มี Follow through selling แต่อย่างใด ประกอบกับขณะนั้นค่าเงิน USD ก็ไม่ได้แข็งค่าขึ้นแต่อย่างใด (สังเกตุที่ค่าเงิน EUR.USD , GBP.USD ก็ดีดตัวขึ้น USD.JPY ก็ปรับตัวลง)และเช้านี้ค่าเงิน USD.JPY ก็ยังคงปรับตัวลงอีกโดยเข้าทดสอบแนวรับจิตวิทยาแถวบริเวณ 100.00 ในขณะที่ตัวเลขทางจีนได้ออกมาไม่สู้ดีก็เป็นอนิสงฆ์ต่อทองคำอีกและตั้งแต่เปิดตลาดราคาทองคำก็กลับขึ้นไปยืนเหนือแนวรับที่หลุดลงมาได้สะท้อนให้ Sentiment กลับมาค่อนข้าง Mixed และเนื่องจากสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขสำคัญๆมากมายรวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆด้วย การเข้าลงทุนซื้อขายจึงน่าจะมีความระมัดระวังพอสมควร Sentiment วันนี้จึงถือว่า Neutral เฉยเลยครับ กลยุทธ์วันนี้เป็นไปได้สูงว่าคงต้องรอผลของตัวเลข ISM ของสหรัฐฯก่อนเป็นอย่างน้อย เนื่องจากไม่ได้ถูกคาดไว้ดีดังผลที่ออกมาก่อนหน้าของตัวเลข CHI PMI และใครจะรู้เผลอๆทองคำอาจกลับไปอยู่ในกรอบเดิมเพื่อรอผลของตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯก็ได้ การเข้าลงทุนจึงควรรอผลของตัวเลขคืนนี้ก่อนอาจควรเป็นการลงทุนสั้นๆเท่านั้นนะครับ ยกเว้นตัวเลขจะออกมาดีมากแบบเหลือเชื่อ Let’s say 58 ถึง 60 และราคาทองคำกลับรูดลงหลุด Pattern อีก ลงแต่ต้นตลาดอเมริกาและจบที่ระดับต่ำถึงต่ำสุดเลยถ้ามีลักษณะหรือทำท่าจะเป็นเช่นนั้นก็ทอนกำไรเอาโดยใช้กลยุทธ์สู้ครึ่งถอยครึ่งครับ ส่วนผู้เขียนคงรอผลของตัวเลขค่อนข้างแน่นอนและคงเข้าลงทุนสั้นๆแบบตีหัวเข้าบ้านครับ เนื่องจากมีตัวเลขใหญ่ๆให้เข้าลงทุนแบบชัดเจนอีกเยอะโดยเฉพาะในวันศุกร์นี้ครับ ขอให้ผู้อ่านและนักลงทุนทุกท่านโชคดีครับ

แนวรับ-แนวต้านวันนี้ updated at น.

R2 = 1405/1408*
R1 = 1400/1402
S1 = 1392/1390
S2 = 1385/1380
………………………………..
หมายเหตุ: บทความนี้ถูกจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่เชื่อว่าหรือควรเชื่อว่ามี ความน่าเชื่อถือ และ / หรือมี
ความถูกต้อง อย่างไรก็ตามผู้จัดทำไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าวข้อมูลและความเห็นที่ปรากฎข้างต้น
อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้จัดทำไม่มีความประสงค์ที่จะชักจูงหรือชี้ชวนให้ผู้ลงทุนลงทุนซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผู้จัดทำจึงไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำ
ข้อมูลหรือความเห็นของเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น