วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความแนวโน้มราคาทอง วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2556

บทความแนวโน้มราคาทอง วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2556

สรุปภาพรวมของตลาดเมื่อวานนี้

ช่วงต้นตลาดราคาทองคำได้ถูกทดสอบด้านล่าง (แนวรับ) ก่อนตามด้วยการดีดตัวขึ้นตามเทคนิค ประกอบกับการคาดการณ์ของตลาดต่อผลของตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ (ADP Employment Change) ที่ไม่ค่อยดีนัก (150k vsl 166k) เสริมด้วยการคาดการณ์ของตลาดอย่างท่วมท้นว่าเฟดน่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินแต่อย่างใด โดยเฉพาะในส่วนของ QE อย่างไรก็ตามผลของตัวเลข ADP ซึ่งได้ออกมาอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของตลาดก็ช่วยส่งให้มีแรงซื้อทองคำขึ้นไปได้อีกจนเข้าสู่บริเวณแนวต้านสำคัญของชุดนี้ก่อนที่จะมีแรงเทขายทำกำไรกันลงมาบ้างเพื่อรอผลการประชุม FOMC เวลา 01.00น. และแล้วผลก็ออกมาตามที่ตลาดโดยรวมคาดการณ์ไว้ ส่งให้มีแรงเทขายทองคำทำกำไรกันเพิ่มเติมอีกหลังราคาทองคำได้ทะยานขึ้นมาล่วงหน้าผลของข่าวนานแล้ว โดยเหตุจูงใจที่ทำให้มีแรงเทขายค่อนข้างรุนแรงมาจากมุมมองของตลาดที่ว่า FOMC Statement ค่อนข้างไปทาง Hawkish (สายเหยี่ยว) โดยไม่มีการปรับลด Outlook ของเศรษฐกิจลงจากผลกระทบ US.Government shutdown โดยยังคงยืนยันว่า Economic activity has continued to expand at a moderate pace และก็ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไรต่อแนวโน้มที่จะมีการลดขนาดของ QE ลงเมื่อไหร่ (เหมือนเดิม คือ Data dependency) ประกอบกับแรงเทขายค่าเงินสกุลหลักเมื่อเทียบกับ USD
(EUR.USD , GBP.USD , USD.CHF และ USD.JPY เป็นต้น) ส่งผลกดดันราคาทองคำด้วย แถมเหลือบไปดูราคาน้ำมันดิบที่รูดลงหลังผลของตัวเลขสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯซึ่งได้ออกมาอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก (เพิ่มขึ้น 4.087M vsfc 2.400M)  
 
สิ่งที่น่าสนใจและจับตาดูวันนี้

ตามตารางข้างล่างนี้โดยในตลาดเอเชียผลของตัวเลขญี่ปุ่น (PMI) ได้ออกมาแข็งแกร่งกว่าเดือนก่อนหน้า (54.2 vsl 52.5) ส่งผลบวกต่อค่าเงินเยน (USD.JPY ลง) ในขณะที่ตัวเลขของออสเตรเลีย (Building approves y/y) ก็ได้ออกมาแข็งแกร่งค่อนข้างมาก (18.6% vsfc 1.2% vslr 11.1%) ส่งผลบวกต่อค่าเงินออสเตรเลีย (AUD.USD) ส่วนในตลาดยุโรปกลับกันผบของตัวเลขเยอรมัน GFK (สำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค) และยอดขายปลีก (Retail sales) ได้ออกมาอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลลบต่อค่าเงินยูโร โดยเฉพาะ EUR.USD ส่วนในตลาดอเมริกาก็น่าสนใจพอสมควรโดยจะมีการประกาศตัวเลข GDP ของแคนาดาซึ่งคงส่งผลโดยตรงต่อค่าเงินแคนาดาครับเวลา 19.30น. พร้อมด้วยการประกาศตัวเลข US.Jobless claims ซึ่งถูกคาดว่าจะดีกว่าสัปดาห์ก่อนหน้า (338k vsl 350k) อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ยังคงไม่นิ่งและมีความผันผวนเนื่องด้วยปัญหาคอมพิวเตอร์ในรัฐ California (ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่กัน) ตัวสุดท้ายก็คือ US. Chicago PMI ซึ่งถูกคาดว่าจะต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย (55.0 vsl 55.7) แต่อย่าลืมว่าเดือนก่อนหน้านี้ถือว่าดีมาก
 
แนวโน้มและกลยุทธ์ประจำวันนี้

ค่าเงิน USD.JPY ที่อ่อนค่าลง แต่ค่าเงิน EUR.USD ที่อ่อนค่าลง ส่งผลที่ค่อนข้าง Mixed ต่อราคาทองคำตามผลของตัวเลขต่างๆวันนี้ที่ผู้เขียนได้บอกไปแล้ว ในขณะที่การเคลื่อนไหวของราคาทองคำก็ค่อนข้าง Mixed เช่นกัน เนื่องด้วยราคาได้ทะลุลงมาอยู่ใต้เส้นความเคลื่อนไหวเฉลี่ย 200periods ในกราฟรายชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นภาพที่ค่อนข้าง Bearish แต่ก็ยังสามารถยืนเหนือแนวรับสำคัญแถวบริเวณ 1330+/- ได้ (ผู้เขียนได้บอกไปแล้วหลายครั้ง) โดยรวมจึงถือว่า Sentiment วันนี้คือ Neutral to slightly bearish กลยุทธ์วันนี้คือ การรอคอยผลของตัวเลขของสหรัฐฯเพื่อเข้าลงทุนสั้นๆ สำหรับบรรดา Aggressive investors ส่วน Conservative investors อาจรอดูบทสรุปของตลาดวันนี้ก่อนเนื่องด้วยภาพที่ค่อนข้าง Mixed ดังที่ผู้เขียนได้บอกไปแล้ว (ใจเย็นๆครับ ไม่ต้องรีบร้อน วันพระไม่ได้มีหนเดียว) ส่วนผู้เขียนก็คงรอผลของตัวเลขต่างๆก่อนเช่นกันและคงต้องออกมาแย่มากๆถึงกล้าเสียบเข้าไปซื้อครับ โดยเฉพาะถ้าราคาทองคำยังคงยืนเหนือแนวรับแถวบริเวณ 1330+/- ได้ โดยมุ่งไปเตรียมพร้อมสำหรับงานสัมมนาวันเสาร์ที่ 2 พย. นี้เป็นหลัก ขอให้ผู้อ่านและนักลงทุนทุกท่านโชคดีครับ

แนวรับ-แนวต้านวันที่ 31/10/56 updated at 17.43น.
R3=1355/1360
R2=1345/1347*
R1=1338/1340
S1=1330/1328**
S2=1325/1320
………………………………..
หมายเหตุ: บทความนี้ถูกจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่เชื่อว่าหรือควรเชื่อว่ามี ความน่าเชื่อถือ และ / หรือมีความถูกต้อง อย่างไรก็ตามผู้จัดทำไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าวข้อมูลและความเห็นที่ปรากฎข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้จัดทำไม่มีความประสงค์ที่จะชักจูงหรือชี้ชวนให้ผู้ลงทุนลงทุนซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผู้จัดทำจึงไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลหรือความเห็นของบทความนี้ไปใช้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น