แนวโน้มราคาทอง วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2556
สรุปภาพรวมของตลาดเมื่อวานนี้
ยังคงเป็นสัปดาห์ที่ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ( DJ ) และค่าเงิน USDJPY ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแน่นอนเป็นปัจจัยลบกับกดดันราคาทองคำ ซึ่งได้รูดราคาตามปัจจัยทางเทคนิค ประกอบด้วย FOMC Minutes ซึ่งได้ส่งสัญญาณว่าเฟดควรมีการปรับลดขนาดของ QE ลงในเร็วๆนี้ จากผลของตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งขึ้นโดยเฉพาะในเดือนที่ผ่านมา ส่วนค่าเงินยูโรได้รูดลงค่อนข้างแรงในคืนวันพุธแล้วความเห็นของ ECB’s Joerg Asumussen ซึ่งเปิดโอกาสของ Negative Short Rates อย่างไรก็ตามในวันพฤหัสบดีค่าเงินยูโรก็ได้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้ว ECB’s Draghi ได้ออกมาให้ความเห็นสวนกระแสดังกล่าว ในส่วนของบรรดาประธานเฟดสาขาต่างๆยังคงมีความความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ซึ่งได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดพอสมควร
สิ่งที่น่าสนใจและจับตาดูวันนี้
คับคั่งไปด้วยตารางการประกาศตัวเลขสำคัญๆมากมาย เริ่มกันตั้งแต่ วันจันทร์ ด้วยการประกาศตัวเลข U.S. Pending Home Sales. ตอน 22.00น. ซึ่งถูกคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นบ้างจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือว่าค่อนข้างอ่อนแอพอสมควร
วันอังคาร เบาเบาที่ตลาดเอเชียด้วยการประกาศตัวเลข Small Business Confidence ของญี่ปุ่นตอน 12.00น. ข้ามไปก็ที่ตลาดอเมริกาเลย ด้วยตัวเลข U.S. Housing Start + Building Permits ตอน 20.30น. ต่อด้วยตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตอน 22.00น. ซึ่งถูกคาดว่าจะฟื้นขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งถือว่าได้ค่อนข้างอ่อนแอ
วันพุธ เริ่มที่ตลาดยุโรป ด้านตัวเลขเยอรมัน GFK ( สำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค ) ตอน 16.00 น. ต่อด้วย GDP ของอังกฤษประจำไตรมาสที่3 ( ตัวปรับปรุง ) จบที่ตลาดอเมริกา ซึ่งถือว่ามีการประกาศตัวเลขคับคั่งมากมาย เนื่องจากวันพฤหัสเป็น Thanksgiving Day โดยเริ่มด้วยตัวเลข U.S. Jobless Claims และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ตอน 20.30น. ต่อด้วยตัวเลข Chicago PMI ตอน 21.45 น. ตัวเลข U Michigan Sentiment ( Final ) ตอน 21.55 น. และ Leading Indicators ตอน 22.00น. แถมด้วยตัวเลขสต็อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ตอน 22.30 น. ซึ่งคงเหมาะกับนักลงทุนที่สนใจในการลงทุนในน้ำมันดิบ
วันพฤหัส น่าสนใจพอสมควรที่ตลาดยุโรป โดยจะมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานของเยอรมนี ตอน 15.55 น. ซึ่งคงมีผลโดยตรงต่อคาเงินยูโร ตามด้วยความเชื่อมั่นผู้บริโภคในภาคต่างๆของยูโรโซน ตอน 17.00 น. โดยไม่มีการประกาศตัวเลขสำคัญอะไรของสหรัฐฯ เนื่องด้วย Thanks Giving Day Holiday (วันขอบคุณพระเจ้า)
วันศุกร์ เริ่มกันแต่เช้าด้วยตัวเลขการจ้างงานของญี่ปุ่น ต่อที่ตลาดยุโรปด้วยตัวเลขยอดขายปลีกของเยอรมนี ตอน 14.00 น. ตามด้วยตัวเลขอัตรากางว่างงานของยูโรโซน และ CPI ตอน 17.00 น. ซึ่งก็ถือว่าน่าสนใจพอสมควร ตบท้ายตลาดอเมริกาด้วยการประกาศตัวเลข GDP ของแคนาดา ซึ่งก็คงมีผลโดยตรงต่อค่าเงินแคนาดาครับ โดยไม่มีการประกาศตัวเลขสำคัญอะไรของอเมริกา ซึ่งมีเพียงตัวเลข U.S. Pending Home Sales. 22.00น. US : Pending Home Sales (MoM) 2.0% -5.6% Pending Home Sales (YoY) -1.0% 1.1%
แนวโน้มและกลยุทธ์ประจำวันนี้
ต้องขอโทษสำหรับบทความที่ล่าช้าซึ่งอาจทำให้นักลงทุนบางท่านสูญเสียโอกาสในการลงทุนไป แต่สำหรับนักลงทุนที่ไม่เข้าร่วมสัมมนากับผู้เขียนในขั้น Advance ก็น่าจะมีโอกาสบ้าง ยกเว้นจะลืมไปหมดแล้ว ต้องย้อนกลับไปดู Lecture กันหน่อย เพราะถ้าราคาทองคำมีการพักตัวเช่นนี้ในวันที่ 3 วันที่ 4 จะเป็นเช่นไร ( กลับไปดู Lecture กันนะครับ ) Sentiment วันนี้ถือว่า Slightly Bearish กลยุทธ์วันนี้ คือการเข้าขายซึ่งมีเป้าหมายที่ New Low ตามสูตรทางเทคนิคขั้น Advance น้อยคนที่จะรู้ ยกเว้นผู้ที่ไม่เข้าร่วมสัมมนาขั้น Advance เพราะ ณ ปัจจุบันราคาทองคำได้รูดลงมาทำ New Lowเรียบร้อยแล้ว โอกาสลงต่อกับดีดตัวกลับขึ้นไปมีเท่าๆกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่พลาดการเข้าขายไปแล้ว ถึงตอนนี้ถือว่าแทบจะ 50 : 50 และด้านผู้เขียนเคยบอกไปหลายครั้งแล้วว่า นี่เป็นการรูดลงชุดที่ 3 แล้ว การไล่ขายลงไปถือว่าไม่เหมาะถึงจะมีโอกาสทำกำไรได้ แต่ความเสี่ยงค่อนข้างสูง รอจังหวะสวนซื้ออาจจะดูดีกว่าด้วยซ้ำส่วนผู้เขียนก็เปลี่ยนหาจังหวะสวนซื้อเช่นกันครับ ดูแนวรับแนวต้านที่ให้ไปด้วย แล้วกัน ขอให้ผู้อ่านและนักลงทุนทุกท่านโชคดีครับ
แนวรับ-แนวต้านวันนี้ updated at 19.28น. GOLD
R3=1245
R2=1239/1240
R1=1233/1235
S1=1227
S2=1225
S3=1223/1220
........
หมายเหตุ: บทความนี้ถูกจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่เชื่อว่าหรือควรเชื่อว่ามี ความน่าเชื่อถือ และ / หรือมีความถูกต้อง อย่างไรก็ตามผู้จัดทำไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าวข้อมูลและความเห็นที่ปรากฎข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้จัดทำไม่มีความประสงค์ที่จะชักจูงหรือชี้ชวนให้ผู้ลงทุนลงทุนซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผู้จัดทำจึงไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลหรือความเห็นของบทความนี้ไปใช้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น