วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

รายงานพิเศษ เรื่อง"ไครเมีย" ทำไมถึงสำคัญนัก 15/3/57

ย้อนรอย ไครเมีย ปัญหาที่คล้ายกับ จอร์เจีย

แรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน โดยรายงานล่าสุดระบุว่า นายจอห์น แคร์รี่ รมว.ต่างประเทศสหรัฐได้หารือร่วมกับนายเซอร์กี ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศรัสเซียเป็นเวลานานกว่า 6 ชั่วโมงที่กรุงลอนดอน แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาทางคลี่คลายความตึงเครียดในยูเครนได้ ขณะที่เขตปกครองตนเองไครเมียจะจัดให้มีการลงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 16 มี.ค.นี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในไครเมียได้มีทางเลือกที่จะตัดสินใจว่า จะยังคงเป็นเขตปกครองตนเองในยูเครนต่อไป หรือจะยกดินแดนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย

นายลาฟรอฟ.รมว.ต่างประเทศรัสเซียกล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมร่วมกับนายแคร์รี่ว่า "รัสเซียจะเคารพการตัดสินใจของประชาชนชาวไครเมีย" พร้อมกับกล่าวว่า "รัสเซียและสหรัฐยังไม่สามารถหาทางออกใดๆที่จะคลี่คลายวิกฤตการณ์ในครั้งนี้"
นับตั้งแต่ รัสเซียส่งกงทัพยาตราเข้าไปในคราบสมุทรไครเมีย (ทางภาคใต้ของยูเครน) ก็ส่งผลให้เกิดคำถามขึ้นทั่วโลกว่ามีสิทธิ์หรือไม่ที่เหตุจะบานปลายกลายเป็น “สงคราม”

ในรูปการณ์ขณะนี้ถือว่าตอบยาก ถึงแม้สถานะการณ์จะเปราะบาง มีการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มทหารรัสเซียและยูเครนหลายครั้ง ที่น่าสนใจก็คือ เหตุการณ์ลักษณะคล้ายๆกันนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว จากแคว้น”โอเซเทีย”ทางตอนเหนือของจอร์เจียอยากที่จะแยกดินแดนมาอยู่กับรัสเซีย ซึ่งเหตุผลหนึ่งในนั้นก็คือชาวบ้านในพื้นที่เป็นเชื้อชาติรัสเซีย(ช่างเหมือนกันเสียยิ่งกระไร) ประกอบกับไม่พอใจรัฐบาลจอร์เจียที่จะไปเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตอลนติกเหนือ(NATO) แถมยังจัดลงประชามติเรื่อง NATO โดยไม่ให้”โอเซเทีย”เข้าร่วม จากนั้นทุกอย่างก็เริ่มตึงเครียด ทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มสะสมกำลังบริเวณพรมแดน ตามด้วยการปะทะกันประปราย และสร้างป้อมค่ายบริเวณพรมแดน จนสุดท้ายกองทัพจอร์เจียทนไม่ไหว เปิดฉากการรุกครั้งใหญ่ไปใน”โอเซเทีย” ทำให้เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กองทัพรัสเซียส่งทหารเข้าไปอย่างเต็มรูปแบบ....
แต่เหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมดใช้เวลาบ่มเพาะกว่า 5 เดือนกว่าสถานะการณ์จะบานปลาย หากเทียบกับ”ไครเมีย” นั้นสถานะการณ์ยังห่างไกลกัน และเป็นเหตุผลที่ยังตอบอะไรไม่ได้ ทุกอย่างมีความเป็นไปได้หมด

ฉะนั้นสิ่งที่พอจะเป็นแนวทาง หาคำตอบก็คือ คำถามที่ว่าทำไมรัสเซียถึงต้องส่งทหารนับหมื่นไปที่คาบสมุทรไครเมีย ซึ่งแน่นอนก็คงเป็นประเดน
1. ไครเมียเป็นดินแดนเก่าที่รัสเซียสู้รบแย่งชิงมา
2. รัสเซียมีฐานทัพอยู่ในเมืองท่า”เซวาสโตโปล”
3. คนเชื้อสายรัสเซียเป็นประชากรส่วนใหญ่ในไครเมีย
4. รัฐบาลท้องถิ่นในไครเมียมีจุดยืนที่จะแยกดินแดนมาอยู่กับรัสเซียอย่างชัดเจน
5. นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย คงไม่ยอมให้ไครเมียที่ตนเองชักใยมานานตกเป็นของยูเครน ซึ่งมีรัฐบาลภาคตะวันตกอย่างสหรัฐ และ ปรเทศกลุ่มยุโรป
6. รัสเซียต้องรักษาผลประโยชน์ การใช้ท่อส่งก๊าซของยูเครน ลำเลียงก๊าซไปขายในยุโรป
ซึ่งมีความเป็นไปดี่ รัสเซียเองก็ต้องเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนไปที่จุดอื่นก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ตกต่ำ ซ้ำค่าเงินรูเบิ้ลยังมาอ่อนแอลงอีก

       อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อกันว่า สหรัฐฯคงไม่ส่งทหารมาแน่แท้ เพราะมีผลกับตนเองเรื่องคะแนนนิยมจากประชาชนท่เบื่อหน่ายสงคราม ประกอบกับเศรษฐกิจที่ยังไม่แข็งแกร่งนัก ซึ่งประเดนเศรษฐกิจก็รวมถึงในยุโรปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น