วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทความแนวโน้มราคาทอง วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2556

บทความแนวโน้มราคาทอง วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2556

สรุปภาพรวมของตลาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ราคาทองคำเคลื่อนไหวซื้อขายในลักษณะ Sideway หรือการพักตัวอยู่ในกรอบ (ด้านบน) โดยมีแนวต้านแถวบริเวณ 1360+/- และแถวบริเวณ 1340+/- เข้าสู่กลางสัปดาห์ (วันพุธ) และได้ดีดตัวขึ้นจากโซนแนวรับตามปัจจัยทงเทคนิคต่อด้วยผลของตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ (ADP) ซึ่งได้ออกมาอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่งให้มีแรงซื้อทองคำขึ้นไปได้อีกเล็กน้อย (เข้าสู่แนวต้าน) ก่อนที่จะมีแรงเทขายทำกำไรลงมาหลังผลการประชุม FOMC ซึ่งไม่มีการลดขนาดของ QE ลงตามการคาดการณ์อย่างท่วมท้นของตลาด แต่การรูดลงของค่าเงินยูโรจากข่าวลบต่างๆเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำด้วย และยังส่งผลให้ค่าเงิน USD แข็งแกร่งขึ้นเทียบสกุลเงินสำคัญๆ อาทิเช่น ค่าเงินเยน ค่าเงินปอนด์ และค่าเงินสวิสฯ เป็นต้น และการรูดลงอย่างค่อนข้างรุนแรงและต่อเนื่องของค่าเงินยูโรกดให้ราคาทองคำหลุดแนวรับสำคัญแถวบริเวณ 1330+/- ลงมา ตามด้วยผลของตัวเลข US. Chicago PMI ซึ่งได้อกมาแข็งแกร่งพลิกการคาดการณ์ของตลาด (สูงสุดในรอบกว่า 30ปี) ส่งให้ราคาทองคำปิดหลุด Pattern ลงมาในวันพฤหัสบดี ตามด้วยการรูดลงอีกระลอกในวันศุกร์ตามปัจจัยทางเทคนิคแถมหลุดแนวรับสุดท้ายซึ่งผู้เขียนให้ไว้ (1310) หลังผลของตัวเลข US. ISM ที่ได้ออกมาแข็งแกร่งพลิกความคาดหมายของตลาดเช่นกัน

สิ่งที่น่าสนใจและจับตาดูเป็นพิเศษสัปดาห์นี้

เริ่มกันที่วันจันทร์ ด้วยตัวเลขยอดขายปลีกของออสเตรเลียซึ่งได้ออกมาแข็งแกร่งเกินการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งก็ส่งผลบวกต่อค่าเงินออสเตรเลีย (AUD.USD) โดยเฉพาะเมื่อวันอาทิตย์ตัวเลข ISM ภาคบริการของจีนได้ออกมาแข็งแกร่ง (56.3 vsl 55.4) ส่วนในตลาดยุโรปก็จะมีการประกาศตัวเลข PMI (Final) ทั้งของเยอรมนีและยูโรโซนโดยรวม ต่อด้วยตัวเลขยูโรโซน Sentix (สำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุน) ซึ่งถูกคาดว่าจะดีขึ้นเล็กน้อยในเวลา 16.30น. พร้อมกับตัวเลข PMI Construction ของอังกฤษ ส่วนในตลาดอเมริกาก็คงมีเพียงตัวเลข Factory orders ซึ่งปรกติก็ไม่ค่อยจะมีผลต่อตลาดเท่าไหร่นัก เวลา 22.00น.
วันอังคาร เริ่มกันแต่เช้าด้วยผลของการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียเวลา 10.30น. ซึ่งถูกคาดว่าจะคงที่ที่ 2.50% (เป็นไปได้สูงครับ) ส่วนตลาดยุโรป Focus ไปที่ผลของตัวเลข PMI (SI) ของอังกฤษเวลา 16.30น. ซึ่งก็คงมีผลโดยตรงต่อค่าเงินปอนด์ (GBP.USD) ต่อด้วย EC economic growth forecast เวลา 17.00น. ในตลาดอเมริกาเริ่มน่าสนใจบ้างด้วยตัวเลข ISM (NM) เวลา 22.00น. ซึ่งถูกคาดว่าจะอ่อนแอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
วันพุธ เริ่มที่ตลาดยุโรปด้วยตัวเลขมากมายเหลือเกินตั้งแต่เยอรมันและยูโรโซนโดยรวม SI ต่อด้วย ตัวเลข Industrial production & Manuf ของอังกฤษ เวลา 16.30น. ยุโรโซนยอดขายปลีกเวลา 17.00น. ในตลาดอเมริกาก็จะมีการประกาศตัวเลข PMI ของ แคนาดาเวลา 22.00น. และเบาๆของสหรัฐฯด้วยตัวเลข Leading indicators
วันพฤหัสบดี เริ่มน่าสนใจมากๆตั้งแต่เช้า (07.30น) ด้วยตัวเลขการจ้างงานของออสเตรเลีย ต่อด้วยตลาดยุโรปคือ ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เวลา 19.00น. และ ECB เวลา 19.45น. ทั้งคู่ถูกคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เดิม แต่ที่น่าสนใจคงอยู่ที่ช่วง Press conference ของ ECB’s Draghi เวลา 20.30น. ว่าจะมีท่าทีอย่างไรหลังข่าวลบเข้ามา (อาทิตย์ที่แล้ว) ในเวลาเดียวกันก็จะมีการประกาศตัวเลข GDP (3Q) Advance ซึ่งก็น่าสนใจพอสมควร พร้อมกับตัวเลข Jobless claims คราวนี้ก็สำคัญไม่ใช่น้อย (จะออกมาตีกันหรือเปล่าก็ไม่รู้)
วันศุกร์ เบาๆที่ตลาดยุโรปถึงจะมีการประกาศตัวเลขมากมายก็ตาม ตบท้ายด้วยตลาดอเมริกาด้วยการประกาศตัวเลขการจ้างงานของแคนาดาเวลา 20.30น. พร้อมการประกาศตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็น Major focus ของสัปดาห์นี้เช่นกันและด้วยผลที่ออกมาอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของตลาดติดต่อกัน 3 เดือน ประกอบกับผลของตัวเลข ADP ที่อ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของตลาดส่งให้คราวนี้ถูกคาดไว้ซะค่อนข้างแย่พอสมควร ตบท้ายด้วยการประกาศตัวเลข U. Mich sent (P) เวลา 21.55น. ซึ่งถูกคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นบ้างเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า

สิ่งที่น่าสนใจและจับตาดูวันนี้

ตามตารางข้างล่างนี้ ซึ่งถือว่า soft soft โดยตลาดน่าจะมุ่งความสนใจไปที่วันพฤหัสบดีและวันศุกร์มากกว่า

แนวโน้มและกลยุทธ์ประจำวันนี้

หลังราคาทองคำได้หลุด Pattern แถวบริเวณ 1330+/- ลงมาในวันพฤหัสบดี ตามด้วยการรูดลงอีกระลอกตามภาพทางเทคนิคในวันศุกร์ ซึ่งอาจถือว่ารุนแรงกว่าคาดคิดไว้เล็กน้อย เนื่องด้วยผลของตัวเลข US.ISM
ช่วงต้นตลาดวันนี้ถึงตลาดยุโรปราคาทองคำเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบไม่กว้างนัก โดยมีแนวต้านเล็กๆแถวบริเวณ 1316+/- และแนวรับเล็กๆแถวบริเวณ 1310+/- ภาพรวมทางเทคนิคถือว่าค่อนข้าง Mixed ซึ่งถ้าปรกติราคาทองคำทำ New low แค่บริเวณ 1310+/- แล้วค่อยๆไต่ขึ้นปิดตลาดและต้นตลาดวันนี้มีการขยับขึ้นก่อนแบบค่อยเป็นค่อยไปก็เหมาะแก่การเข้าดักขายพอสมควร แต่นี่ตอนเช้ากลับปรับลงก่อนเล็กน้อยตามด้วยการฝนราคาอยู่ในกรอบเล็กๆแบบ Sideway อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ทั่วไปยังคงเป็นการหาจังหวะเข้าขาย แต่มีความเสี่ยงจากการดีดตัวขึ้นของค่าเงินสกุลหลักๆ (Short - covering) ประกอบกับในสัปดาห์นี้ภาพรวมตัวเลขของสหรัฐฯที่จะประกาศโดยเฉพาะในวันศุกร์ (NFP) ถูกคาดไว้ไม่ค่อยดีเลยครับ (125k vsl 148k) แถมถูกคาดว่าอัตราการว่างงานที่ลดลงสู่ระดับ 7.2% จะกลับตีกลับขึ้นมาอีกครั้งที่ 7.3% จึงถือเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้ราคาทองคำเข้าสู่ภาวะการพักตัวเร็วกว่าที่ควรเพื่อรอผลของตัวเลขดังกล่าว Sentiment วันนี้ถือว่า Slightly bearish to neutral กลยุทธ์วันนี้สำหรับ Aggressive investors คือ การดักขายใกล้บริเวณแนวต้านเล็กๆ (1316+/-) โดยวาง Stop loss orders สั้นๆที่เหนือ 1318 ขึ้นไป โดยหวังการรูดลงทะลุแนวรับเล็กๆแถวบริเวณ 1310+/- อีกครั้ง เพื่อ 1305/1300. ส่วน Conservative investors อาจต้องอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพราะมีงานใหญ่ให้เข้าลงทุนในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ซึ่งถือว่าเป็น Major focus ของสัปดาห์นี้และเผลอๆของเดือนนี้เลยด้วยซ้ำ ส่วนผู้เขียนได้เข้าขายไปที่ 1315.25 แต่ก็ตัดทำกำไรหลังการเข้าทดสอบแนวรับแรกแถวบริเวณ 1310+ แล้วดีดตัวขึ้นเพราะเหลือบไปเห็นค่าเงินสกุลต่างๆที่ดีดตัวขึ้น Against USD ทำให้ไม่ค่อยมั่นแถมด้วยเหตุผลเบื้องต้น โดยตัดทำกำไรไปที่ 1312.15 แต่อย่างไรยังคงไม่เข้าซื้อครับ แต่จะจ้องดูอย่างใกล้ชิดว่าตลาดยุโรปจะสามารถดันราคาทองคำกลับไปยืนเหนือ 1316 ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามการกลับตัวขึ้นเลยตามภทพทางเทคนิคยังคงไม่น่าเกิดขึ้น แต่เสี่ยงๆจากตัวเลขต่างๆของสหรัฐฯที่ถูกคาดไว้ไม่ค่อยดีเท่านั้นเองครับ โดยสถิติย้อนหลังแล้วโอกาสที่ราคาทองคำจะลงมาทำ New low อีกยังมีครับโดยเฉพาะวันนี้ โดยโอกาสหลุดแนวต้านเล็กๆบริเวณ 1316 ขึ้นไปและปิดสูงมีเพียง 1 ใน  10 ภาพ ขอให้ผู้อ่านและนักลงทุนุทกท่านโชคดีครับ


แนวรับ-แนวต้าน ทองคำ วันที่ 4/11/56 updated at 16.58น.
R3=1320/1322
R2=1318
R1=1316*
S1=1310
S2=1305
S3=1300
………………………………………………..
หมายเหตุ: บทความนี้ถูกจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่เชื่อว่าหรือควรเชื่อว่ามี ความน่าเชื่อถือ และ / หรือมีความถูกต้อง อย่างไรก็ตามผู้จัดทำไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าวข้อมูลและความเห็นที่ปรากฎข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้จัดทำไม่มีความประสงค์ที่จะชักจูงหรือชี้ชวนให้ผู้ลงทุนลงทุนซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผู้จัดทำจึงไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลหรือความเห็นของบทความนี้ไปใช้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น