วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทความแนวโน้มราคาทอง วันที่ 16 ธันวาคม 2556 (รอบเช้า)

บทความแนวโน้มราคาทอง วันที่ 16 ธันวาคม 2556 (รอบเช้า) 

ภาพรวมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ราคาทองเคลื่อนไหวค่อนข้าง หวือหวา พอสมควร โดยตั้งแต่ตลาดทองเปิดในวันจัทร์ ราคาทองพุ่งสูงสุดถึง 42 เหรียญ โดยประมาณ ขณะที่สัปดาห์เดียวกันราคาทองก็เคลื่อนไหวลงมาถึงจุดต่ำสุด เปลี่ยนแปลงถึง 47 เหรียญ
แต่หากนับจากช่วงตลาดเปิดมาถึงช่วงตลาดปิดในวันศุกร์ที่แล้ว ถือว่าราคาทองคำเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นถึง 13 เหรียญ
เรียกได้ว่าราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมายังไม่สามารถหลุดลงมาต่ำกว่าราคา 1200 ตามที่มีนักวิเคราะห์หลายๆท่านได้คาดการณ์ว่าราคาจะลงมาต่ำกว่า 1200
และใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาทองคำต่ำสุดที่ในรอบเดือน ก็อยู่ที่ 1211 และต่ำสุดรองลงมาก็อยู่ที่ 1220
จากข้อมูลนี้ ทำให้เราเห็นว่า “ปัจจัยที่กดดันราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ถือว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลมากพอสมควร แต่ยังไม่สามารถทำให้ราคาทองหลุดกว่าราคา 1200 ได้ ” ตามที่บรรดาชาวเหมืองทองต้องการ
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกับราคาทองในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนมากเกิดจากรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของ”สหรัฐฯ”ที่ภาพรวมออกมาค่อนข้างดี รวมถึง การเจรจาเรื่องงบประมาณในสภาคองเกรสสหรัฐได้บรรลุข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐในวันที่ 15 ม.ค.ได้แล้ว.....(แหม อยากให้บ้านเราตกลงกันได้อย่างนี้บ้างจัง)
และ มีการคาดการณ์ว่า การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed หรือที่เรียกกันว่า FOMC
ในสัปดาห์หน้า (คืนวันที่ 18 ธันวาคมนี้ ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า Fed จะพิจารณาเรื่องการชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE))  
โดย ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นแรงกดดันราคาทองคำทั้งสิ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ การที่ราคาทองคำดีดกลับมา เกิดจากปัจจัยที่ว่า “อุปสงค์ อุปทาน” หรือ “ราคาทองลงมาใกล้แนวรับสำคัญที่ 1200 ก็มีแรงเข้าซื้อกลับเข้ามา” และอีกปัจจัยก็คือ “การที่นักลงทุนซึมซับข่าวเรื่องการลด QE จนเริ่มรู้สึกชินชาไปบ้างแล้ว

Focus ราคาทองสัปดาห์นี้

แน่นอนครับ HighLigh สัปดาห์นี้อยู่ที่ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FOMC (Federal Open Market Committee)  ซึ่งต้องจับตาดูการประชุมดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หลังจากมีกระแสคาดการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า เฟดอาจจะตัดสินใจลดขนาด QE ในการประชุมครั้งนี้
วันนี้เลยขอพูดถึงเรื่องของ Fed และการตัดสินใจ “ลด หรือ ไม่ลด QE ดูอะไรบ้าง ?
ขอเริ่มต้นตั้งคำถามครับว่า “ปัจจัยอะไรที่ทำให้ Fed ตัดสินใจลด QE” …….. ถึงตรงนี้ขอกล่าวถึงแบบง่ายๆว่าก็คง “จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ผ่านมาของสหรัฐฯ บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และที่น่าสนใจก็คือรายงานตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐฯที่ล่าสุดออกมา 7.0% ซึ่งใกล้กับเป้าหมายที่เคยกล่าวไว้ว่า หากอัตราการว่างงานอยู่ที่หรือต่ำกว่า 6.5% จะมีการพิจารณาเรื่องการลด QE ง่ายๆเลยครับ ทำให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายเลยให้ความเห็นว่า Fed มีโอกาสลดหรือวางแผนลดขนาด QE แน่ๆในการประชุม FOMC สัปดาห์นี้”
สำหรับปัจจัยที่จะทำให้ Fed ตัดสินใจยังไม่ลด QE ก็คือ
Fed อาจจะกล่าวว่า “การที่รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจ และรายงานตัวเลขกลุ่ม Job Date ออกมาดีขึ้น นั่นเพราะผลจากมาตรการ QE แน่นอนถือเป็นสัญญาณที่ดี จึงควร คงมาตรการ QE ไประยะหนึ่งก่อนจนกว่า อัตราการว่างงานอยู่ที่ 6.5% หรือต่ำกว่าและอัตราเงินเฟ้อมากกว่าเติบโตมากกว่า 2%” ...... Oho My GOD ! (อย่างนี้ก็พลิกล็อกถล่มทลายซิครับ)
และ เหตุผลดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ Fed ทำประจำจากสถิติ คือ มักจะมีความเห็นในลักษณะกักๆสักนิด หรือตรงกันข้ามกับที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ประมาณว่า “บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น”
ยังไม่จบครับ อีกเหตุผลที่ทำให้ Fed ตัดสินใจยังไม่ลด QE ก็คือ นายเบน เบอร์นันเก้ ประธาน Fed คนปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระลงใน เดือนมกราคม 57 จึงอาจแอบผลักภาระอันสำคัญยิ่งนี้
ให้ว่าที่ประธาน Fed คนใหม่อย่าง นางJanet Yellen ก็เป็นได้ และนาง Janet Yellen ก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนการใช้มาตรการ QE ด้วย
ครับ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวความคิดและการวิเคราะห์จากสถิติที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นนะครับ

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ อื่นๆที่น่าสนใจ 

เริ่มจากฝั่งยุโรปอย่าง
- ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างทั้งภาคการผลิตและบริการ
- ตัวเลขสำรวจบรรยากาศทางเศรษฐกิจ
- ตัวเลขดัชนีผู้บริโภค
ซึ่งส่วนใหญ่มีการคาดการณ์ว่าดีขึ้น
สำหรับฝั่งสหรัฐฯ นอกเหนือจาก รายงานการประชุม FOMC ก็มี
- รายงานตัวเลขดัชนีผู้บริโภคสหรัฐฯ
- รายงานกลุ่มอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ อย่าง ตัวเลขการขออนุญาติสร้างบ้าน / ตัวเลขยอดสร้างบ้านใหม่ / ตัวเลขยอดขายบ้านมือ 2
- ตัวเลขดัชนีการผลิตของ Fed สาขาฟิลาเดลเฟีย
- ปิดท้ายกับตัวเลขเบาๆอย่าง GDP
โดยภาพรวมการคาดการณ์ผลของตัวเลขมีทั้ง ดีและไม่ดี  และปัจจัยเหล่านี้ในสหรัฐฯ เป็นปัจจัยที่เฟดสามารถนำไปประกอบการพิจารณาลด QE

แนวรับ แนวต้าน ทอง วันที่ 16/12/56 รอบเช้า) 
R2= 1244
R1= 1239
S1= 1233/1230
S2= 1224/1233

*โดยที่เหลือต้องจับตาวันที่ 18 ธันวาคมนี้ ตอนตี 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น